0
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
“ พัฒนาเศรษฐกิจประมง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดำรงหลักธรรมาภิบาล ประสานการพัฒนา”
พันธกิจ
รอการบันทึก
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
แนวทาง |
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย |
1.1 ก่อสร้าง บูรณะ และบำรุงรักษา เส้นทางคมนาคม ทางบก และทางน้ำให้เชื่อมโยงกับจังหวัด |
1.2 ก่อสร้าง บูรณะและบำรุงรักษา แหล่งน้ำ ระบบชลประทาน ระบบประปา ให้มีน้ำอุปโภค-บริโภค ตลอดปี |
|
1.3 ดูแลรักษาทางน้ำ ร่องน้ำภายในจังหวัด |
|
1.4 ก่อสร้าง การจัดการ และดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ |
|
1.5 ขยายเขตบริการน้ำประปา ไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ |
|
2. ด้านการท่องเที่ยวที่ประทับใจ |
2.1 พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน |
2.2 ประชาสัมพันธ์ แนะนำแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในตำบล |
|
3. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม |
3.1 ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ และขยายฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ |
3.2 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมครัวเรือนให้มีคุณภาพและเป็นสินค้า OTOP |
|
3.3 สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น |
|
4. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี |
4.1 การสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ |
|
4.2 การสนับสนุนให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด |
4.3 การจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย |
|
4.4 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ |
|
4.5 การจัดการ การสนับสนุนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมตลอดถึงการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด |
|
4.6 การส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาอาชีพ |
|
4.7 สนับสนุนให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับประชาชนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อสร้างงานทำ |
|
4.8 ส่งเสริมให้มีการจัดทำกิจกรรมของครอบครัว ครอบครัวผาสุก |
|
4.9 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง |
|
5. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/ |
5.1 จัดตั้งเครือข่ายดูแลและป้องกันยาเสพติด |
5.2 ส่งเสริมและรณรงค์การเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ตามระบอบประชาธิปไตย |
|
5.3 สร้างจิตสำนึกทางด้านการเมืองท้องถิ่นให้แพร่หลาย รวมถึงการให้การศึกษาทางการเมือง |
|
5.4 ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด |
|
5.5 ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน ระงับและบรรเทาอุบัติภัย สาธารณะภัย |
|
6. ด้านการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ |
6.1 การก่อสร้าง บูรณะ และซ่อมบำรุงสนามกีฬา/ลานกีฬา |
6.2 การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดและระดับประเทศ |
|
6.3 จัดกิจกรรม รณรงค์ ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนหันมาสนใจในการกีฬาและเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่อง |
|
7. ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
7.1 บำรุงรักษา ดูแลรักษาและคุ้มครองโบราณสถาน โบราณวัตถุ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน |
7.2 สร้างจิตสำนึกให้อนุรักษ์ หวงแหน ในวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป |
|
7.3 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม งานประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนาที่มีลักษณะเด่นของท้องถิ่น |
|
7.4 ส่งเสริมให้มีการสร้างงานศิลปะของท้องถิ่นให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว |
|
7.5 ส่งเสริม ทำนุบำรุง ศาสนาทุกศาสนา ตลอดจนให้สถาบันทางศาสนาเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของประชาชน |
|
8. ด้านการบริหารจัดการและ |
8.1สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนสนใจด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างสมดุล |
8.2 ฟื้นฟูและบำรุงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ |
|
8.3 เฝ้าระวังและป้องกันมิให้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม |
|
8.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและรักษาไว้ให้คงอยู่เพื่อความสมดุล |
|
8.5 ให้มีการบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล |
|
9.ด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ดี |
9.1 สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่ดีในหน่วยงานโดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ |
9.2 สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นให้ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล สถิติ เพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น |
|
9.3 สนับสนุนและส่งเสริมให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย และมีอุปกรณ์พร้อมเพรียงเพื่อการบริการประชาชน |
|
9.4 เสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง |
|
9.5 สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ศึกษาต่อ และทัศนะศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอย่างสม่ำเสมอ |
|
9.6 เสริมสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากรของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง |
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น
1. จัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่น ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลและถือปฏิบัติตามแนวนโยบายของรัฐบาลให้เกิดเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัดและอำเภอเป็นผู้ประสานการปฏิบัติและสนับสนุนการดำเนินงาน
2. การแก้ไขปัญหาของประชาชน จะคำนึงถึงศักยภาพของตำบลและความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ทั้งทางภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติที่มี
3. เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและครอบครัวที่อบอุ่น โดยส่งเสริมการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้สถาบันครอบครัวและชุมชนที่แข็งแรงและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนของตนเอง
4. ยึดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาที่ครอบคลุมตามภารกิจในทุกด้านตามบทบาท อำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาอำเภอ ตามแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 9 แผนงาน ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย
2. ด้านการท่องเที่ยวที่ประทับใจ
3. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม
4. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยที่น่าอยู่
6. ด้านการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
7. ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
8. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
9. ด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ดี