0
ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบล “ตำมะลัง” เดิมทีเป็นเกาะเล็ก ๆ มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่กี่ครัวเรือน ต่อมาได้มีชาวอินโดนีเซียเดินทางมาค้าขายโดยเรือ ได้แวะพักแรมบนเกาะดังกล่าว และบังเอิญได้ไปพบนกอินทรีย์ถูกผูกติดไว้กับต้นไม้ที่บนเกาะ ดังนั้น ชาวอินโดนีเซียจึงเรียกเกาะดังกล่าวว่า “ตำมะลัง” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “ผูกอินทรี” ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบล ซึ่งใช้ชื่อว่า “ตำบลตำมะลัง”
องค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539
0
สภาพทั่วไปทางกายภาพ
ที่ตั้งและอาณาเขต
ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ห่างจากอำเภอ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด 9 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 15 นาที จากตัวจังหวัด มีอาณาเขตดังนี้ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคลองขุด ตำบลควนขัน
ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลคลองขุด ตำบลปูยู
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลตันหยงโป
เนื้อที่
เนื้อที่ประมาณ 39.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 25,161.21 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบเหมาะแก่การทำประมงขนาดเล็ก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลน เหมาะแก่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
จำนวนหมู่บ้าน
ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านกาลันบาตู หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 มี นายไพบูลย์ โลหะตันติวรกุล เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านตำมะลังเหนือ หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 มี นายสุรินทร์ หลงกูนัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านตำมะลังใต้ หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 มี นายนาแซร์ เด็นหมาน เป็นกำนัน
จำนวนครัวเรือและประชากร
จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 1,281 ครัวเรือน
ประชากร ทั้งสิ้น 4,895 คน
สามารถแยกได้ดังนี้
หมู่ที่ |
จำนวนประชากร (คน) |
รวม (คน) |
จำนวนครัวเรือน |
|
ชาย |
หญิง |
|||
1 บ้านกาลันบาตู |
107 |
99 |
206 |
72 |
2 บ้านตำมะลังเหนือ |
1,016 |
1,124 |
2,140 |
518 |
3 บ้านตำมะลังใต้ |
1,255 |
1,294 |
2,549 |
691 |
รวม |
2,378 |
2,517 |
4,895 |
1,281 |
* ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2555 มีความหนาแน่นเฉลี่ย 124 คน/ตารางกิโลเมตร
0
สภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
- ประชากรส่วนใหญ่ทำการประมง และรับจ้างแรงงานในประเทศมาเลเซีย
- เกษตรกรรม
- ทำสวนยางพารา 1,700 ไร่ จำนวน 70 ครอบครัว
- ประมง จำนวน 995 ครอบครัว
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- โรงงานอุตสาหกรรมห้องเย็น 2 แห่ง
- แพปลา 5 แห่ง
- แพหอย 4 แห่ง
- อู่เรือ 2 แห่ง
0
สภาพทั่วไปทางสังคม
การศึกษา
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 3 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
- โรงเรียนสอนศาสนา 3 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- มัสยิด 2 แห่ง
- ธุดงคสถาน 1 แห่ง
การสาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราด 100 เปอร์เซ็นต์
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- มีที่ทำการตำรวจชุมชน 1 แห่ง
- ยังไม่มีสถานีดับเพลิงในตำบล
0
การบริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม
- ถนนลาดยาง 1 สาย
- ถนนคอนกรีต 3 สาย
- ถนนดินลูกรัง 2 สาย
การโทรคมนาคม
- โทรศัพท์สาธารณะ 9 แห่ง
- ที่ทำการไปรษณีย์ 1 แห่ง
- สถานีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชน 2 แห่ง
การไฟฟ้า
- ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ประมาณ 4,000 คน
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ถังเก็บน้ำ 3 แห่ง
- สระเก็บน้ำ 3 แห่ง
0
ข้อมูลอื่นๆ
มวลชนจัดตั้ง
- อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน 60 คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 32 คน
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ป่าชายเลน 19,380 ไร่
- คลอง 3 สาย
0
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวนบุคลากร จำนวน 24 คน
- ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 8 คน
- ตำแหน่งในส่วนการคลัง 4 คน
- ตำแหน่งในส่วนโยธา 3 คน
- ตำแหน่งในส่วนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 คน
- ตำแหน่งในส่วนสาธารณะสุข 3 คน
ระดับการศึกษาของบุคลากร
- ประถมศึกษา 2 คน
- มัธยมศึกษาตอนต้น 1 คน
- มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 คน
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1 คน
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 6 คน
- ปริญญาตรี 6 คน
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
- รายได้ประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวนทั้งสิ้น 16,643,950.24 บาท
แยกเป็น
* รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 563,257.47 บาท
* รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 6,972,667.88 บาท
- เงินอุดหนุนรัฐบาล 9,108,024.89 บาท
ศักยภาพของชุมชนในพื้นที่
การรวมกลุ่มของประชาชน
จำนวนกลุ่มทุกประเภท 9 กลุ่ม
แยกเป็น
กลุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม
แยกเป็น
- กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง 3 กลุ่ม
- กลุ่มประมงขนาดเล็ก 1 กลุ่ม
- กลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้า 1 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 1 กลุ่ม
- กลุ่มกองทุนหมุนเวียน 3 กลุ่ม
จุดเด่นของพื้นที่
- มีแนวเขตติดกับประเทศมาเลเซีย
- พื้นที่ติดทะเลเหมาะแก่การทำประมง
- มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น
- มีท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
- มีหน่วยงานราชการในพื้นที่หลายหน่วยงาน
-มีทรัพยากรป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
0